Loading...
ดาต้าเซ็นเตอร์

Data Center คืออะไร

Data Center คือสถานที่ที่ใช้ในการวาง Server ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค ระบบจัดเก็บข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ ที่องค์กรใช้ในการประกอบ การประมวลผล, การจัดเก็บฐานข้อมูล ที่มีขนาดใหญ่ หรืออื่นๆ จะถูกเก็บไว้ในเครื่อง Server หลัก การดึงข้อมูลออกจาก Data center เปรียบเสมือนการดึงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการดึงข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เครื่องไหนก็ตามบนโลกใบนี้ การดึงฐานข้อมูลเดียวกันจะอยู่ที่ Data center เดียวกันเสมอ

Data Centers ทำงานอย่างไร

สิ่งอำนวยความสะดวกของ Data Center ช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมทรัพยากร และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประมวลผลข้อมูล (data processing), การจัดเก็บ (storage) และการสื่อสาร (communications) รวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

ระบบสำหรับการจัดเก็บ, การแชร์, การเข้าถึง และประมวลผลข้อมูลทั่วทั้งองค์กร โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล ยูทิลิตี้ เช่น พลังงานไฟฟ้า ระบบระบายความร้อน ระบบปรับอากาศ การเข้าถึงความปลอดภัยของเครือข่าย และเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไม Data Center ถึงมีความสำคัญ

ปัจจุบันไม่ได้มีการจำกัดขอบเขตไว้ว่าระบบ data center ต้องเป็นแบบที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวเท่านั้น ตรงกันข้าม หากองค์กรมีการติดตั้ง และใช้งาน Data Center 2 แห่งขึ้นไป ยิ่งทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้องค์กร ลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องสร้าง หรือมีศูนย์ data center ของตัวเอง แต่นิยมเช่าใช้พื้นที่ในการเก็บเซิร์ฟเวอร์ และฮาร์ดแวร์ต่างๆ ของผู้ให้บริการ เพื่อลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา โดยจะกระจายเช่าเซิร์ฟเวอร์ไว้หลายๆ ที่แล้วใช้การเชื่อมโยงระบบผ่านทางโครงข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเรียกใช้ข้อมูลในระบบ Cloud แทน

องค์ประกอบหลักของ Data Center คืออะไร

องค์ประกอบของศูนย์ข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นประเภทหลักดังต่อไปนี้

สิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) ซึ่งรวมถึงโลเคชั่น ที่มีการควบคุมการเข้าถึง เพื่อความปลอดภัย และพื้นที่เป็นที่เพียงพอสำหรับวางโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ของ Data Center การจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Enterprise data storage) ดาต้าเซนเตอร์ ประกอบด้วยระบบข้อมูลขององค์กรในโครงสร้างพื้นฐาน และ Storage ที่ได้รับการป้องกันอย่างดี พร้อมด้วย servers, storage subsystems, networking switches, routers, firewalls, cabling and physical racks. รองรับโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ (Support infrastructure) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และต้องมีการบำรุงรักษา การตรวจสอบอุปกรณ์ไอที รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานตลอดเวลา

Data Center มีกี่ประเภท

1. Enterprise data centers

ดาต้าเซนเตอร์ กลุ่มนี้มักถูกติดตั้งอยู่ในตัวองค์กร ถูกสร้าง และดูแลด้วยตัวขององค์กรเอง ทำให้สะดวกต่อการขยับขยาย และการซ่อมบำรุง มักประจำอยู่ตามสาขาภายในองค์กรต่างๆ

2. Managed services data centers

ดาต้าเซนเตอร์นี้บริหารจัดการโดย third parties ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลทุกด้าน บริษัทต่างๆ จะมาเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานบริการแทนการซื้อ

3. Cloud-based data centers

ดาต้าเซนเตอร์แบบกระจายนอกสถานที่เหล่านี้ได้รับการจัดการโดย third-party หรือผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (public cloud providers) เช่น Amazon Web Services, Microsoft Azure หรือ Google Cloud โครงสร้างพื้นฐานที่เช่านี้อิงตามรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานบริการ ช่วยให้ลูกค้าจัดเตรียมศูนย์ข้อมูลเสมือนได้ภายในไม่กี่นาที

4. Colocation data centers

ได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น การตั้ง Server สำหรับเว็บไซต์ การทำศูนย์ข้อมูลต่างๆ เพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าดาต้าเซนเตอร์แบบอื่น เนื่องจากเป็นการเช่าพื้นที่ในการใช้งานร่วมกับองค์กรอื่นๆ มีผู้ให้บริการคอยดูแลตลอดเวลา และมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมต่อการใช้งาน

5. Edge data centers

เป็นดาต้าเซนเตอร์ขนาดเล็ก ที่แก้ปัญหาเวลาแฝง (latency) ให้บริการอุปกรณ์แบบเดียวกับที่ดาต้าเซนเตอร์แบบดั้งเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยอยู่ใกล้กับเอดจ์ของเน็ตเวิร์ก และ data sources มากขึ้น

6. Hyperscale data centers

เหมือนกันกับผู้ให้บริการขนาดใหญ่ เช่น Amazon, Meta และ Google โครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลแบบไฮเปอร์สเกลเหล่านี้จะเพิ่มความหนาแน่นของฮาร์ดแวร์ให้สูงสุด ลดค่าใช้จ่ายในการระบายความร้อนและค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ


อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Data Center Tier ต่างๆ
ธุรกิจขนาดเล็กอาจประสบความสำเร็จด้วยเซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจอาร์เรย์หลายตัวที่เชื่อมต่อเครือข่ายภายในห้องเล็กๆ ในขณะที่องค์กรด้านคอมพิวเตอร์รายใหญ่อาจเติมเต็มพื้นที่คลังสินค้าขนาดมหึมาด้วยอุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานของ Data Center ในกรณีอื่นๆ ดาต้าเซนเตอร์สามารถประกอบในการติดตั้งแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่ง หรือที่เรียกว่าศูนย์ข้อมูลในกล่อง (data centers in a box) ซึ่งสามารถเคลื่อนย้าย และปรับใช้ได้ตามต้องการ

Tier 1 (Basic Capacity)
Tier 1 เป็นระดับที่ง่ายที่สุดและต่ำที่สุดในบรรดาทั้งหมด หากมีความเสียหาย และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบไปทั้งอุปกรณ์ และระบบของดาต้าเซนเตอร์ ขณะ Maintenance ระบบ หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายต่างๆ ดาต้าเซนเตอร์ จะได้รับผลกระทบไปด้วย ดาต้าเซนเตอร์แบบนี้ไม่มีพื้นแบบยก (Raised floors) ที่ใช้ระบายอากาศ, ไม่มีระบบจ่ายไฟฟ้าตัวสำรอ (Redundant power supplies) และไม่มี UPS (ระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองกรณี Power supplies ทำงานไม่ได้)

Uptime 99.671%
Maximum downtime 1729 นาที หรือ 28 ชั่วโมง 48 นาที/ปี

Tier 2 (Redundant Capacity)
เป็น Tier ที่มีอุปกรณ์สำรองบางส่วนในระบบไฟฟ้า,ระบบระบายอากาศ และระบบทำความเย็น (Partial redundant) ไม่ได้เป็นแบบ Fully redundant เพราะไม่ครอบคลุมระบบทั้งหมด ข้อมูลข้างต้นคือสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาหากเทียบกับ Tier 1

Uptime 99.741%
Maximum downtime 1361.3 นาที หรือ 22 ชั่วโมง 41 นาที 18 วินาที/ปี

Tier 3 (Concurrently maintenance DC)
เป็น Tier ที่รวมคุณสมบัติทั้งหมดของ Tier 1 และ Tier 2 ส่วนในการซ่อมแซมอุปกรณ์หรือ Maintenance จะไม่กระทบกับการทำงานของ Data Center สามารถถอดอุปกรณ์แล้วเปลี่ยนใหม่ได้โดยไม่กระทบกับระบบ มี Dual power supplies ที่มี UPS ต่อเข้ากับแต่ละแหล่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ซึ่ง UPS ไม่ได้มีแค่ตัวเดียว เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งเสีย อีกตัวจะทำงานทันที มีการป้องกันไฟดับ 72 ชั่วโมง

Uptime 99.982%
Maximum downtime 94.6 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 34 นาที 36 วินาที/ปี

Tier 4 (Fault Tolerance)
เป็น Tier สูงสุดของมาตรฐาน Data Center มีระบบที่เป็น Fully redundant อุปกรณ์ IT ทั้งหมดจะได้รับไฟฟ้าจากแหล่งจ่าย 2 แหล่ง แยก Generator กัน มีระบบ UPS 2 ระบบและมีระบบปรับอากาศ 2 ระบบ อีกเช่นกัน ถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ระบบจะยังคงทำงานได้เป็นปกติ การทำงานของ IT จะกระทบก็ต่อเมื่อระบบไฟฟ้า 2 แหล่งเสียพร้อมกัน หรือระบบปรับอากาศเสียพร้อมกัน เวลาหยุดทำงานไม่เกิน 26.3 นาทีต่อปี ตลอดจนความทนทานต่อข้อผิดพลาดเต็มรูปแบบ ความซ้ำซ้อนของระบบ และการป้องกันไฟดับ 96 ชั่วโมง

Uptime 99.995%
Maximum downtime 26.3 นาที หรือ 26 นาที 18 วินาที/ปี

Tier 5 Data Center
Tier 5 เป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างใหม่มาก ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของดาต้าเซนเตอร์ Tier 4 ทั้งหมด พร้อมด้วยสิ่งอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงการดำเนินการโดยไม่ใช้น้ำ มีเครื่องตรวจจับมลพิษทางอากาศ ชั้นวางเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอดภัย และการตรวจสอบระบบพลังงาน โดยปกติแล้วดาต้าเซนเตอร์ระดับ 5 จะเป็นที่นิยมสำหรับโครงการไฟฟ้าในท้องถิ่น และพลังงานหมุนเวียน

ดาต้าเซนเตอร์ระดับนี้ดึงดูดธุรกิจ สถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์สาธารณะที่ "เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ดาต้าเซนเตอร์ระดับ 5 นั้นคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่สูงเกินไปในการสร้าง และดำเนินการ

Uptime คืออะไร
Uptime เป็น % ที่บอกถึงการทำงานที่เป็นปกติของ Data Center เทียบต่อ 1 ปี Uptime 100% หมายถึงระบบใน Data Center ไม่มีปัญหาในการให้บริการในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟ หรือระบบระบายอากาศ เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีที่ใดสามารถการันตี Uptime เป็น 100% ได้ มาตรฐานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 99.XXX% โดย 0.XXX% ที่เหลือ คือ ระยะเวลามากที่สุดที่อุปกรณ์จะเกิด Downtime ต่อปี
เมื่อต้องเลือกดาต้าเซนเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ ให้พิจารณา ความต้องการ ความพร้อมใช้งานของข้อมูล และความสามารถในการทนต่อการหยุดทำงานโดยไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน ของธุรกิจเป็นหลัก สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมใช้งานสูง และความต้องการความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ดาต้าเซนเตอร์ระดับ IV เป็นตัวเลือกที่แนะนำ


ที่มา Volico.com techtarget.com